ตลาดรถยนต์กุมภาพันธ์ ยอดขาย 52,843 คัน ลดลง 26.1%

ตลาดรถยนต์กุมภาพันธ์ชะลอตัวเล็กน้อย ยอดขายรวม 52,843 คัน ลดลง 26.1% ผู้บริโภคชะลอการซื้อรอแคมเปญมอเตอร์โชว์ ขณะที่รถไฟฟ้าเร่งใช้สิทธิ์ EV 3.0

 

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 ด้วยยอดขาย 52,843 คัน ลดลง 26.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 19,861 คัน ลดลง 20.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 32,982 คัน ลดลง 29.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 18,839 คัน ลดลง 44%

 

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณการขาย 52,843 คัน ลดลง 26.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งยอดขายที่ลดลงมากกว่าปกติ เป็นผลมาจากการเร่งขายของกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องจดทะเบียนภายในเดือนมกราคม เพื่อลูกค้าจะได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี BEV 3.0 รวมถึงผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจ เพื่อรอการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ตลอดจนแคมเปญส่งเสริมการขายที่จะเกิดขึ้นในงานจัดแสดงยานยนต์ครั้งยิ่งใหญ่ “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45” ทั้งนี้ตลาดรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 20.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 29.4% นอกจากนี้ การที่สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์เช่นกัน

 

ตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคมมีแนวโน้มที่จะขยับตัวดีขึ้น จากการที่ค่ายรถยนต์พร้อมใจกันแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ทั้งรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ณ งานจัดแสดงยานยนต์ครั้งยิ่งใหญ่แห่ง ไตรมาสแรก “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45” พร้อมโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากทั้งค่ายรถยนต์และสถาบันการเงิน เพิ่มความน่าดึงดูดใจในการเป็นเจ้าของ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2567

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 52,843 คัน ลดลง 26.1%                           

อันดับที่ 1 โตโยต้า   19,702 คัน   ลดลง 23.1%          ส่วนแบ่งตลาด 37.3%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   8,587 คัน    ลดลง 1.4%           ส่วนแบ่งตลาด 16.3%

อันดับที่ 3 อีซูซุ        7,653 คัน     ลดลง 50.2%          ส่วนแบ่งตลาด 14.5%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 19,861 คัน ลดลง 20.1%                           

อันดับที่ 1 โตโยต้า   4,880 คัน    ลดลง 48.4%          ส่วนแบ่งตลาด 24.6%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   4,721 คัน    ลดลง 16.6%          ส่วนแบ่งตลาด 23.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   1,705 คัน    ลดลง 9%               ส่วนแบ่งตลาด  8.6%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 32,982 คัน ลดลง 29.4%                           

อันดับที่ 1 โตโยต้า   14,822 คัน   ลดลง 8.2%            ส่วนแบ่งตลาด 44.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        7,653 คัน     ลดลง 50.2%          ส่วนแบ่งตลาด 23.2%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   3,866 คัน    เพิ่มขึ้น 27%           ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 18,839 คัน ลดลง 44%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า   8,661 คัน     ลดลง 36.2%          ส่วนแบ่งตลาด 46%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        6,690 คัน     ลดลง 52.7%          ส่วนแบ่งตลาด 35.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด     2,205 คัน     ลดลง 38.6%          ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,304 คัน

โตโยต้า 1,275 คัน - อีซูซุ 985 คัน –ฟอร์ด 752 คัน –มิตซูบิชิ 248 คัน – นิสสัน 44 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,535 คัน ลดลง 43.2%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า   7,386 คัน     ลดลง 35.5%          ส่วนแบ่งตลาด 47.5%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        5,705 คัน     ลดลง 52.4%          ส่วนแบ่งตลาด 36.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด     1,453 คัน     ลดลง 32.2%          ส่วนแบ่งตลาด  9.4%

Visitors: 5,035,918