ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ ชะลอตัวเล็กน้อย ยอดขาย 49,313 คัน ลดลง 6.7%

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ ชะลอตัวเล็กน้อย ยอดขาย 49,313 คัน ลดลง 6.7%

 

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ยอดขายตลาดรวม 49,313 คัน ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,937 คัน ลดลง 4.7% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 30,376 คัน ลดลง 7.9% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 16,144 คัน ลดลง 14.3%

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียอดขาย 49,313  คัน ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งลดลงที่ 4.7% ด้วยยอดขาย 18,937 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงเช่นกันที่ 7.9% ด้วยยอดขาย 30,376 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ลดลง ด้วยยอดขาย 16,144 คัน ลดลง 14.3% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 20,850 คัน คิดเป็นสัดส่วน 42.3% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด หากเทียบกับยอดขายรวมระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว ยอดขายรถ HEV ลดลง 2% ด้วยยอดขาย 22,913 คัน เช่นเดียวกับรถ BEV ที่ลดลง 2% ด้วยยอดขาย 15,172 คัน

ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีแนวโน้มทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ตลาดรถกระบะปีนี้มีลุ้นปรับตัวดีขึ้น ด้วยมาตรการใหม่“กระบะพี่ มีคลังค้ำ” โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ “บสย. SMEs PICK-UP” ที่จะเปิดรับคำขอค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 นี้ รวมถึงค่ายรถยนต์ที่ออกเงื่อนไขและข้อเสนอพิเศษมารองรับการใช้งานของลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs อาจช่วยผลักดันให้เกิดการใช้จ่ายลงทุนในยานพาหนะ เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รถยนต์รุ่นใหม่ โปรโมชันการขาย และแพ็กเกจที่น่าสนใจจากหลากหลายค่ายรถยนต์ ที่ถูกนำเสนอในงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46” ในวันที่ 26 มีนาคม-6 เมษายนนี้ อาจเป็นปัจจัยบวกในการช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อีกด้วย

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2568

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 49,313 คัน ลดลง 6.7%                       

อันดับที่ 1 โตโยต้า   18,729 คัน   ลดลง   4.9%          ส่วนแบ่งตลาด 38%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        6,832 คัน    ลดลง 10.7%          ส่วนแบ่งตลาด 13.9%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   6,398 คัน    ลดลง 25.5%          ส่วนแบ่งตลาด 13%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,937 คัน ลดลง 4.7%                                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า   6,622 คัน     เพิ่มขึ้น 35.7%        ส่วนแบ่งตลาด 35%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   3,066 คัน     ลดลง 35.1%          ส่วนแบ่งตลาด 16.2%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   1,044 คัน     ลดลง 38.8%          ส่วนแบ่งตลาด 5.5%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 30,376 คัน ลดลง 7.9%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า   12,107 คัน   ลดลง 18.3%          ส่วนแบ่งตลาด 39.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        6,832 คัน     ลดลง 10.7%          ส่วนแบ่งตลาด 22.5%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   3,332 คัน    ลดลง 13.8%          ส่วนแบ่งตลาด 11%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 16,144 คัน ลดลง 14.3%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า     6,994 คัน   ลดลง 19.2%          ส่วนแบ่งตลาด 43.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        6,107 คัน     ลดลง 8.7%           ส่วนแบ่งตลาด 37.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด       1,523 คัน   ลดลง 30.9%          ส่วนแบ่งตลาด 9.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,925 คัน

อีซูซุ 1,123 คัน - โตโยต้า 1,048 คัน – ฟอร์ด 579 คัน – มิตซูบิชิ 142 คัน – นิสสัน 33 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 13,219 คัน ลดลง 14.9%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า     5,946 คัน   ลดลง 19.5%          ส่วนแบ่งตลาด 45%

อันดับที่ 2 อีซูซุ            4,984 คัน ลดลง 12.6%          ส่วนแบ่งตลาด 37.7%

อันดับที่ 3  มิตซูบิชิ      982 คัน    เพิ่มขึ้น 40.1%        ส่วนแบ่งตลาด 7.4%     

 

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม –  กุมภาพันธ์ 2568

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 97,395 คัน ลดลง 9.5%       

อันดับที่ 1 โตโยต้า   36,108 คัน   ลดลง    3%  ส่วนแบ่งตลาด 37.1%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   13,460 คัน   ลดลง 20.3%          ส่วนแบ่งตลาด 13.8%

อันดับที่ 3 อีซูซุ        12,969 คัน  ลดลง   16.8%        ส่วนแบ่งตลาด 13.3%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 37,180 คัน ลดลง 14.1%       

อันดับที่ 1 โตโยต้า   12,466 คัน   เพิ่มขึ้น 24.3%        ส่วนแบ่งตลาด 33.5%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   6,855 คัน    ลดลง 26.5%           ส่วนแบ่งตลาด 18.4%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   1,992 คัน    ลดลง 31.7%          ส่วนแบ่งตลาด 5.4%

         

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 60,215 คัน ลดลง 6.5% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า   23,642 คัน   ลดลง 13.1%          ส่วนแบ่งตลาด 39.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        12,969 คัน   ลดลง 16.8%          ส่วนแบ่งตลาด 21.5%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   6,605 คัน    ลดลง 12.6%          ส่วนแบ่งตลาด 11%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 31,507 คัน ลดลง 14.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   13,578 คัน   ลดลง 18.3%          ส่วนแบ่งตลาด 43.1%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        11,605 คัน   ลดลง 14.8%          ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด     3,200 คัน    ลดลง 23.6%          ส่วนแบ่งตลาด 10.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 6,027 คัน

อีซูซุ 2,232 คัน - โตโยต้า 2,116 คัน - ฟอร์ด 1,283 คัน – มิตซูบิชิ 320 คัน – นิสสัน 76 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 25,480 คัน ลดลง 16.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   11,462 คัน   ลดลง    19.5%       ส่วนแบ่งตลาด 45%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        9,373 คัน     ลดลง    19.3%       ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   1,964 คัน    เพิ่มขึ้น  61.2%       ส่วนแบ่งตลาด 7.7%  

Visitors: 6,032,336