ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม ชะลอตัว ยอดขาย 48,082 คัน ลดลง 12.3%

ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม ชะลอตัว ยอดขาย 48,082 คัน ลดลง 12.3%

 

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2568 ยอดขายตลาดรวม 48,082 คัน ลดลง 12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,243 คัน ลดลง 22.1% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 29,839 คัน ลดลง 5% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 15,363 คัน ลดลง 14.4%

 

ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2568 มียอดขาย 48,082 คัน ลดลง 12.3% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ 22.1% ด้วยยอดขาย 18,243 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 5% ด้วยยอดขาย 29,839 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัว ด้วยยอดขาย 15,363 คัน ลดลง 14.4% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 20,459 คัน คิดเป็นสัดส่วน 42.6% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตลดลง 4.6% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว รถยนต์ HEV ยังคงมาแรง เติบโตขึ้น 12% ด้วยยอดขาย 11,441 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 7,268 คัน ลดลง 29.6%

 

ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ มีแนวโน้มทรงตัว แต่คาดว่าอาจจะยังคงลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนต่อสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน นอกจากนี้ สถาบันการเงินอาจยังคงความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภค ซึ่งอาจส่งผลต่อความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที อาจมีส่วนช่วยลดภาระประชาชน รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ไปพร้อมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2568

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 48,082 คัน ลดลง 12.3%                       

อันดับที่ 1 โตโยต้า   17,379 คัน   ลดลง 0.8%            ส่วนแบ่งตลาด 36.1%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   7,062 คัน     ลดลง 14.9%          ส่วนแบ่งตลาด 14.7%

อันดับที่ 3 อีซูซุ        6,137 คัน     ลดลง 22.6%          ส่วนแบ่งตลาด 12.8% 

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,243 คัน ลดลง 22.1%  

อันดับที่ 1 โตโยต้า   5,844 คัน     เพิ่มขึ้น 13.6%        ส่วนแบ่งตลาด 32%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   3,789 คัน     ลดลง 17.8%          ส่วนแบ่งตลาด 20.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ     948 คัน      ลดลง 21.7%          ส่วนแบ่งตลาด 5.2%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,839 คัน ลดลง 5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   11,535 คัน   ลดลง   6.8%          ส่วนแบ่งตลาด 38.7%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        6,137 คัน     ลดลง 22.6%          ส่วนแบ่งตลาด 20.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   3,273 คัน    ลดลง 11.3%          ส่วนแบ่งตลาด 11%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 15,363 คัน ลดลง 14.4%  

อันดับที่ 1 โตโยต้า   6,584 คัน    ลดลง 17.3%          ส่วนแบ่งตลาด 42.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        5,498 คัน     ลดลง 20.6%          ส่วนแบ่งตลาด 35.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด     1,677 คัน    ลดลง 15.4%          ส่วนแบ่งตลาด 10.9%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,102 คัน

โตโยต้า 1,068 คัน - อีซูซุ 1,109 คัน - ฟอร์ด 704 คัน - มิตซูบิชิ 178 คัน - นิสสัน 43 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 12,261 คัน ลดลง 17.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า   5,516 คัน    ลดลง 19.4%          ส่วนแบ่งตลาด 45%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           4,389 คัน  ลดลง 25.6%          ส่วนแบ่งตลาด 35.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      982 คัน     เพิ่มขึ้น 89.9%        ส่วนแบ่งตลาด 8%      

Visitors: 6,032,340